เทคโนโลยี Lite RTM

เทคโนโลยี Lite RTM

    1.Lite RTM คืออะไร
    2. องค์ประกอบของระบบ Lite RTM ที่จำเป็น
    3. เทคนิคการทำโมลด์ระบบ Lite RTM

    1. Lite RTM (Lite Resin Transfer Molding)  หมายถึง ระบบการนำเรซิ่นเข้าสู่แม่พิมพ์แบบปิด (close  mold)หรือแบบอ่อนอธิบายกันง่ายๆก็คือการฉีดเรซิ่นแรงดันต่ำด้วยเครื่อง Lite RTM เข้าสู่แม่พิมพ์แบบปิด (โมลด์ที่มีฝาปิดทับหลังอีกชิ้น) โดยมีระบบ  vacuumช่วยในการกดแม่พิมพ์ให้แนบสนิทกัน  พร้อมกับคอยนำทางให้เรซิ่นไหลไปตามที่กำหนดและช่วยลดฟองอากาศที่เกิดขึ้นจากการทำปฏิกิริยาของเรซิ่น
    2. องค์ประกอบของระบบ Lite RTM ที่จำเป็น

2.1  เครื่อง Lite RTM  จะต้องเป็นเครื่องสำหรับระบบ  Lite RTM โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของแรงดันเรซิ่นที่ใช้กับระบบความสามารถในการปรับอัตราส่วนการผสม Catalyze ระหว่างการทำงานการถ่ายเทแรงดันส่วนเกิดเพื่อความปลอดภัยและระบบการล้างทำความสะอาดที่ดี  เนื่องการเป็นเครื่องที่มีระบบการผสมภายในหัวฉีดในเครื่องบางตัวก็จะมีอุปกรณ์เสริมเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานให้ง่าย  และควบคุมการทำงานได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น  ระบบนับจังหวะการขึ้น-ลงของปั๊ม ระบบตัดการทำงานอัตโนมัติระบบตั้งการทำงานของเครื่องด้วยคอมพิวเตอร์ และชิปเซ็ท เป็นต้น

2.2 อุปกรณ์ Hardware คืออุปกรณ์ต่างๆ ทำให้ระบบพร้อมสำหรับการใช้งานดังต่อไปนี้

 - เครื่องMulti – Vacใช้ในการดูดอากาศเพื่อกดพิมพ์ทั้ง 2 ชิ้นเข้าหากันและนำทาง-ลดฟองอากาศเรซิ่นที่ฉีเข้าพิมพ์
 - อ่างแว็คคั่ม เพื่อดูดฟองอากาศและเป็นอ่างสำหรับเรซิ่นที่ล้นเกินออกมาจากชิ่นงานชุดข้อต่อสำหรับเชื่อมต่อท่อ และสายต่างๆ
 - ซิลรูปเห็ด และ ซิลปีกนกสำหรับการป้องกันเรซิ่น – อากาศเข้าออกบริเวณชิ้นงาน และแม่พิมพ์                                               
2.3 แม่พิมพ์ Lite RTM

    3.เทคนิคการทำแม่พิมพ์ระบบ Lite RTMเตรียมชิ้นงานต้นแบบที่จะทำพิมพ์ให้เรียบร้อยควรเผื่อพื้นที่ข้างแม่พิมพ์ไว้อย่างน้อย 6 นิ้ว และถ้าขอบชิ้นงานมีพื้นที่สูงต่ำไม่เท่ากัน ควรหลีกเลี่ยงการทำขอบแบบหักเป็นมุมฉากโดยเด็ดขา ควรทำเป็นพื้นที่เรียบไต่ระดับขึ้นไปจนเสมอกันทำผิวเจลโค้ทตามที่ต้องการให้เรียบร้อย พร้อมกับวางอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ข้อต่อสำหรับสายลม หรือข้อต่อสำหรับอ่างแว็คคัม เป็นต้น ตามตำแหน่งที่เหมาะสมกับขนาดของพิมพ์ รูปร่างของพิมพ์ จากนั้นก็ควรใช้ใยผิวลงเป็นชั้นแรกเพื่อความแข็งแรงและเรียบร้อยของผิวเจลโค้ทต่อจากชั้นใยผิวแล้วก็ลงใยแก้วตามความหนาที่เหมาะสม(ประมาณ2-3มม.) หรือมากกว่านั้นตามความต้องการ ให้เหมาะกับรูปแบบของพิมพ์ที่ออกแบบจากนั้นก็เสริมความแข็งแรงด้วย namcore หรือวัสดุเสริมแรงอื่นก็ได้ เพื่อให้แม่พิมพ์มีความแข็งแรง ทนต่อแรงดันต่อจากการเสริมแรงด้วยวัสดุ composites แล้วก็มาทำโครงเหล็กรองรับแม่พิมพ์ให้เรียบร้อยหรืออาจจะทำเป็นแท่นสำหรับแม่พิมพ์ในตัวเลยก็ได้จากขั้นตอนที่ผ่านมาก็จะได้แม่พิมพ์หลักในการใช้งานร่วมกับระบบ RTM/LRTMเมื่อได้พิมพ์เรียบร้อยแล้วก็มาเริ่มทำพิมพ์ประกบด้านหลังอีก 1 ตัว โดยใช้wax sheet ตามความหนาที่ต้องการของชิ้นงาน ลงไว้ในพิมพ์ส่วนที่เป็นชิ้นงาน และในส่วนของซิลต่างๆ ก็ใช้ตามขนาดของซิลนั้นๆ โดยจะใช้ซิล 2ชนิดคือ mushroom seal กับ wind seal แล้วจึงกำหนดจุดฉีดน้ำยา/ลมเข้าให้เรียบร้อยจากนั้นก็ฝากชุดอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ข้อต่อฉีดน้ำยา/ลม ข้อต่อสายแว็คคั่มข้อต่ออ่างแว็คคั่ม แล้วจึงทำผิวเจลโค้ทใส และลงชั้นผิวใยแก้ว โดยทำความหนาให้ประมาณ 3-5 มิลลิเมตรเป็นอย่างน้อยในส่วนของตัวแคล้มป์ล็อคแบบด้านข้างแม่พิมพ์นั้นขึ้นอยู่กับขนาดรูปแบบของแม่พิมพ์ ซึ่งในหลายๆ แม่พิมพ์ก็ไม่จำเป็นต้องมีตัวล็อคก็ได้ เฉพาะแรงแว็คคั่มก็เพียงพอแล้ว

เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย    บริษัท ธนาวุฒิ คอมโพสิท จำกัด

ติดต่อเรา

contact us

อาคารปฏิบัติการไฟเบอร์กลาส
สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซอยตรีมิตร
ถนนพระราม 4 กล้วยน้ำไท คลองเตย
กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์ 0-2713-5033
โทรสาร 0-2713-5032

FiberglassLab Center,
Department of Industrial Promotion.
Soi Trimitr, Rama 4 Rd., Klong Toey,
BKK 10110 Thailand.
Phone: (662) 713-5033
Fax: (662) 713-5032

Facebook

สมาคมไทยคอมโพสิท (ไฟเบอร์กลาส)

 

Email       

:  thaicomposites@gmail.com